Support
www.การเลิกบุหรี่.com
088-322-6116 เบอร์หลัก ( 084-926-1555 เบอร์สำรอง )
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

จะรู้ได้อย่างไรว่า ติดยา หรือ ไม่ติดยา

วันที่: 2018-02-26 08:51:37.0view 523reply 0

 

 

จะรู้ได้อย่างไรว่า ติดยา หรือ ไม่ติดยา

จะมีเกณฑ์การวินิจฉัยดังนี้

การใช้สารเสพติดจนเกิดปัญหา (substance abuse) (เกณฑ์นี้บอกว่าการใช้สารเสพติดได้เกิดผลกระทบแล้วหรือยัง)

หากเมื่อมีการใช้สารเสพติดไม่ว่าตัวใดก็ตาม แล้วก่อให้เกิดความเสียหายหรือผลเสียต่อตัวเอง ดังต่อไปนี้ อย่างน้อย 1 ข้อ 
1. มีการใช้สารเสพติดอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ อาจเป็นทุกวัน ทุก 3-4 วัน ทุกสัปดาห์ ซึ่งทำให้ไม่สามารถทำงานต่างๆได้เต็มที่ เช่น หน้าที่การงาน การเรียน หรืองานบ้าน
2. มีการใช้สารเสพติดอย่างต่อเนื่อง ในสถานการณ์ต่างๆ ที่จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ เช่น ขับรถขณะมึนเมา ใช้ยาบ้าจนน้ำหนักตัวลดมากหรืออดนอนจนอ่อนเพลียมาก
3. ก่อให้เกิดปัญหาทางกฎหมายจากการใช้สารเสพติด เช่น ถูกจับกุม
4. มีการใช้สารเสพติดอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าสารเสพติดนั้นจะก่อให้เกิดปัญหาต่างๆในด้านสังคม หรือความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เช่น การทะเลาะเบาะแว้งกับคนในครอบครัว ถูกต่อว่าเรื่องการเสพสารเสพติด

ภาวะติดสารเสพติด (substance dependence)
หากเมื่อมีการใช้สารเสพติดไม่ว่าตัวใดก็ตาม แล้วก่อให้เกิดความเสียหายหรือผลเสียต่อตัวเอง ดังต่อไปนี้ อย่างน้อย 3 ข้อ 
1. มีการดื้อยา ตามข้อใดข้อหนึ่งดังนี้
- ต้องการที่จะใช้สารนั้นเพิ่มขึ้นอย่างมาก เพื่อให้ได้ฤทธิ์ยาที่ต้องการ
- ผลของสารนั้นลดลงไปมาก เมื่อใช้ยาต่อเนื่องในจำนวนเท่าเดิม (ดังนั้นผู้เสพติดจะต้องเพิ่มปริมาณสารที่ใช้มากขึ้นเรื่อยๆ)
2. มีอาการขาดยา ตามข้อใดข้อหนึ่งดังนี้
- เกิดกลุ่มอาการขาดยา เช่น ในยาบ้า/ยาไอซ์ มีอาการง่วงนอน หมดแรง ฝันร้าย
- มีการใช้สารนั้นเพื่อหลีกเลี่ยง หรือบรรเทาอาการขาดยา
3. มักจะใช้สารนั้นในจำนวนที่เพิ่มมากขึ้น หรือใช้ติดต่อกันนานมากกว่าที่คิดไว้
4. ต้องการใช้สารนั้นอยู่ตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง หรือมักไม่สำเร็จในการพยายามที่จะหยุดหรือเลิกใช้สารนั้น (หยุดได้เพียงไม่กี่วันหรือกี่เดือน ก็ถือว่าเลิกไม่สำเร็จ)
5. เสียเวลาในแต่ละวันหมดไปกับกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ได้สารนั้นมา เสียเวลาเพื่อเสพสารหรือในการฟื้นจากผลของสารนั้น
6. การใช้สารนั้นมีผลทำให้กิจกรรมสำคัญในด้านสังคม อาชีพ การดูแลตัวเองเสื่อมลง
7. มีการใช้สารนั้นอยู่เรื่อยๆ แม้ว่าจะรู้ว่าสารนั้นๆ ก่อให้เกิดปัญหาทางกายและจิตใจอยู่เป็นประจำก็ตาม

การเปลี่ยนแปลงที่สังเกตพบได้ในผู้ติดยาเสพติด

การเปลี่ยนแปลงทางด้านรางกาย 
- สุขภาพทรุดโทรม ผอมซูบ ซีด น้ำหนักลด ไม่มีเรี่ยวแรง ริมผีปากเขียวซ้ำ แห้ง แตก 
- ม่านตาขยายสู้แสงจ้าไม่ได้ ซึ่งเป็นผลจากการเสพยา จึงมักใส่แว่นตากันแดดอยู่เสมอ 
- น้ำมูก น้ำตาไหล มีเหงื่อออกมาก กลิ่นตัวแรง เพราะไม่ทำความสะอาดร่างกายตัวเอง 
- นิ้วมือ มีรอยคราบเหลือง สกปรก เนื่องจากการสูบ 
- ผิวหนังหยาบกร้าน เช่น แผลพุพองอาจมีหนอง น้ำเหลือง คล้ายโรคผิวหนังเนื่องจากขาดวิตามิน 
- ใบหน้าดำคล้ำโดยเฉพาะบริเวณโหนกแก้มและหน้าผาก 
- มีอาการอยากยา ซึ่งยาเสพติดแต่ละประเภทมีอาการหลังเสพและอาการเมื่ออยากยาหรือขาดยาแตกต่างกัน 

การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจและอารมณ์ 
• อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย เช่น เวลาขาดยาจะรู้สึกหงุดหงิดมาก แต่เมื่อเสพยาแล้วอารมณ์จะดีขึ้นอย่างรวดเร็ว 
• นิสัยเปลี่ยนไป เช่น จากคนเรียนร้อยกลายเป็นคนก้าวร้าว 
• ไม่มีความเชื่อมั่นในตนเอง บุคลิกลักษณะเชื่อถือไม่ได้ 
• มีความคิดเชื่องช้า สติปัญญาเสื่อมลง ความจำเสื่อม ทำให้การเรียนหรือการงานบกพร่อง 
• มีความรู้สึกไม่ปลอดภัย หวาดระแวง 
• อารมณ์ฉุนเฉียว ชวนทะเลาะวิวาทและทำร้ายกัน ขาดความอดกลั้น เป็นคนเจ้าอารมณ์หงุดหงิด เอาแต่ใจตนเอง ขาดเหตุผล
• มีความวิตกกังวลซึมเศร้า 
• อยู่นิ่งไม่ได้ หลุกหลิก บางรายชอบเดินไปมา

การเปลี่ยนแปลงทางด้านพฤติกรรมสังคม 
• มีพฤติกรรมชอบเก็บตัว เงียบขรึม มักอยู่คนเดียว ปลีกตัวจากผู้อื่นทำตัวลึกลับ ไม่รับรู้ความเป็นไปใดๆ 
• มีพฤติกรรมใช้เงินเปลืองผิดปกติ 
• มีพฤติกรรมลักขโมย 
• มีพฤติกรรมก้าวร้าว 
• มีพฤติกรรมเกียจคร้าน 
• มีพฤติกรรมคบแต่เพื่อนที่เสพยาด้วยกัน อาจเป็นเพื่อนกลุ่มใหม่ที่ไม่เคยเห็นมาก่อน มีการคุยกันลึกลับและเป็นความลับ

เครดิต: ข้อมูลจาก ศูนย์บำบัดรักษายาเสพติด เชียงใหม่

การเลิกบุหรี่.com
088-322-6116

All Replys: 0   Pages: 1/0

 

 

 

 

เลิกสูบบุหรี่ ง่ายนิดเดียว

ด้วยชาบัวหิมะ เลิกได้จริง ใน 6-9 วัน

 

ติดต่อคุณประจักษ์

088-322-6116

ทุกวัน 8.00 น ถึง 22.00 น.

 

Line ID : 0883226116

ประจักษ์/การเลิกบุหรี่

 

มูลนิธิรณรงค์ช่วยให้เลิกบุหรี่และสารเสพติด นครปฐม